วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

My Favorite Song : My love



My Love
Singers : Westlife




An empty street. An empty house. A hold inside my heart.
I’m all alone. The rooms are getting smaller.

**I wonder how. I wonder why. I wonder where they are.
The days we had. The songs we sang together. Oh yeah
And oh my love, we’re holding on forever.
Reaching for the love that seem so far
***So I say a little prayer and hope my dreams will take me there.
Where the sky is blue to see you once again. My love..
Overseas from coast to coast, to find the place I love the most.
Where the fields are green, to see you once again. (My love.. )

I try to read, I go to work.
I’m laughing with my friends, but I can’t stop to keep myself from thinking. Oh no..

(Repeat **)

To hold you in my arms.  To promise you my love.
To tell you from my heart you are all I am thinking of.
(Music)
Reaching for the love that seem so far. So..

(Repeat ***)



วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

My Favorite Songs : Trouble is a Friend




Troble Is a Friend
Singer : Lenka


Troble he will find you no matter where you go oh oh
No matter if you're fast, no matter if you're slow oh oh
The eye of the storm or the cry in the morn. Oh Oh
You are fine for a while, but you start to lose control.
**He’s there in the dark. He’s there in my heart.
He waits in the wings. He’s gonna play a part.
Trouble is a friend. Yeah, trouble is a friend of mine. Ah Ah
Trouble is a friend, but trouble is a foe, oh oh.
And no matter what I feed him, he always seem to grow. Oh Oh.
He sees what I see, and he knows what I know. Oh Oh
So don’t forget as you ease on down the road. Oh Oh
 He’s there in the dark. He’s there in my heart.
He waits in the wings. He’s gonna play a part.
Trouble is a friend. Yeah, trouble is a friend of mine. Ah Ah
So I don’t be alarmed if he takes you by the arm.
I don’t let him win, but I am a sucker for his charm.
Trouble is a friend. Yeah, trouble is a friend of mine. Ah Ah….
How I hate the way he makes me feel. And how  I try to make him leave.
I try. I try.
But he’s there in the dark. He’s there in my heart.
He waits in the wings. He’s gonna play a part.
Trouble is a friend. Yeah, trouble is a friend of mine. Oh Oh
So I don’t be alarmed if he takes you by the arm.
I don’t let him win, but I am a sucker for his charm.
Trouble is a friend. Yeah, trouble is a friend of mine. Ah ah…
Hhoo hoo hoo hoo hoo hoo Ah ar…
Hhoo hoo hoo hoo hoo hoo





วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Shall and Will

Shall and Will
Commonly Confused Words
By Richard Nordquist, About.com Guide
In contemporary American English, the auxiliary verb shall is rarely used. In British English, shall and will are often used interchangeably with no difference of meaning in most circumstances. Internationally, will is now the standard choice for expressing future plans and expectations. However, in first-person questions shall is often used to express politeness, and in legal statements, shall is used with a third-person subject for stating requirements.
According to R.L. Trask (see below), traditional rules regarding shall and will are "little more than a fantastic invention."
The editors of Merriam-Webster's Dictionary of English Usage conclude that such rules "do not appear to have described real usage of these words very precisely at any time, although there is no question that they do describe the usage of some people some of the time and that they are more applicable in England than elsewhere."
Bryan A. Garner observes that "there's simply no reason to hold on to shall. The word is peripheral in American English" (Garner's Modern American Usage).
Please see the usage notes below.
Examples:
·         "Change will not come if we wait for some other person or some other time." (Barack Obama)

·         "The British Constitution has always been puzzling and always will be." (Queen Elizabeth II)

·         I will call you later.

·         "Here is my principle: Taxes shall be levied according to ability to pay. That is the only American principle." (Franklin D. Roosevelt)

·         "Down the stairs? Well, don't stop when you get to the basement. Keep straight on. Give my regards to the earth's core! And if you give us any more trouble, I shall visit you in the small hours and put a bat up your nightdress." (Basil Fawlty in Fawlty Towers)

·         Shall we dance?
Usage Notes:
·         "There is a traditional textbook ruling that runs as follows. For simple futurity, you use shall after I or we but will after everything else, while, to express determination or command, you use will after I or we but shall after everything else. By these rules, the required forms are We shall finish tonight (simple statement) versus We will finish tonight (expressing determination), but They will finish tonight (simple statement) versus They shall finish tonight (an order).

"As grammarians never tire of pointing out, these bizarre rules do not accurately describe the real usage of careful speakers at any time or in any place in the history of English, and they are little more than a fantastic invention. If you are one of the handful of speakers for whom these rules now seem completely natural, then by all means go ahead and follow them. But, if you are not, just forget about them, and use your natural forms.

"However, in Britain, the very formal written English used in drafting laws and regulations requires the use of shall with a third-person subject for stating requirements. Example: An average of 40 percent shall be deemed a pass at Honours level. Britons engaged in doing such writing must fall into line here.

"Do not try to use shall if the word does not feel entirely natural, and especially don't try to use it merely in the hope of sounding more elegant. Doing so will probably produce something that is acceptable to no one."
(R.L. Trask, Say What You Mean! A Troubleshooter's Guide to English Style & Usage, David R. Godine, 2005)

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีที่พัฒนาจากนักจิตวิทยาและนักการศึกษาสองท่านคือ Jean Piaget ชาวสวิสเซอร์แลนด์ และ Lev Vygotsky ชาวรัสเซีย  ทั้งสองท่านนี้เป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นกลุ่มที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรู้คิดซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง กลุ่มทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างความรู้มากกว่าการรับความรู้  ด้วยเหตุนี้เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้จึงมุ่งสนับสนุนให้ผู้เรียนมีการสร้างองค์ความรู้มากกว่าการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน กล่าวคือ มุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล และยังเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายที่เป็นจริง จากความเชื่อดังกล่าวส่งผลให้แนวทางจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง   เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอน Piaget เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวตนของเรากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งที่อยู่ใกล้และไกล เพื่อให้เกิดการสร้างความรู้หรือค้นพบความรู้จากการเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ กับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ในโครงสร้างความรู้ความคิด  โดยเสนอว่าพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซับ (Assimilation) และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซับข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม หากข้อมูลเก่าและข้อมูลใหม่ไม่สามารถสัมพันธ์กันได้  จะเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น (Disequilibrium) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในภาวะสมดุล (Equilibrium) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา และเชื่อว่าคนทุกคนจะมีการพัฒนาเชาวน์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการมีปฏิสัมพันธ์และมีประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logico – mathematical experience) รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม (Social transmission) วุฒิภาวะ (Maturity) และกระบวนการพัฒนาความสมดุล (Equilibration) ของบุคคลนั้น  
                      ส่วนVygotsky ให้ความสำคัญกับเครื่องมือทางปัญญาว่าเป็นสิ่งที่ช่วยในการแก้ปัญหาและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การกระทำการใด ๆ ได้ นอกจากนี้วัฒนธรรมและสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาความรู้ของผู้เรียน  Vygotsky อธิบายว่ามนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว ยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือวัฒนธรรมที่สังคมสร้างขึ้น ดังนั้น สถาบันสังคมต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล (บุปผชาติ  ทัฬหิกรณ์, 2551 หน้า 9 ; สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ, 2551 หน้า 1)

เอกสารอ้างอิง
บุปผชาติ  ทัฬหิกรณ์. (2551).  การประยุกต์ใช้สารสนเทศในการเรียนการสอน  กรุงเทพ 

สุภณิดา  ปุสุรินทร์คำ.  (2551).  ความแตกต่างของConstructivismกับConstructionism.  สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2552 จาก  http://supanida-opal.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


เรียบเรียงโดย  อุไรวรรรณ  ศรีธิวงค์


ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์  เป็นทฤษฏีหนึ่งในกลุ่มพุทธินิยม (Cognitive Learning Theories) กลุ่มเกสตัลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน โดยมีผู้นำกลุ่มคือแมกซ์  เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer) และลูกศิษย์ 2 คนได้แก่ วู้ลฟ์แกงค์ โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt  Koffka) และเคิร์ท  เลวิน (Kurt  Lawin) นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวความคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป คำว่า เกสตัลท์ หมายถึงแบบแผนหรือภาพรวม โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวมหรือผลรวมมากกว่าส่วนย่อย ในการศึกษาวิจัย เขาได้พบว่าการรับรู้ข้อมูลของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อยก่อน ในการเรียนรู้และการแก้ปัญหาก็เช่นกัน คนเราจะเรียนอะไรได้นั้นต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจากนั้นจึงมาพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยจะทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น (ทิศนา แขมมณี, 2551)
จากการศึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ที่เน้นการเรียนรู้แบบการหยั่งรู้  สรุปว่าปกติแล้วคนเราจะมีวิธีการเรียนรู้และการแก้ปัญหาโดยอาศัยความคิดและประสบการณ์เดิมมากกว่าการลองผิดลองถูกเมื่อสามารถแก้ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว หากต้องเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern) ของความคิดใหม่เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม (Digital Library of King Mongkut's University of Technology Thonburi, 2545)   ปัจจุบันได้มีผู้นำเอาวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุที่พวกเขาเชื่อในผลการศึกษาค้นคว้าที่พบว่าถ้าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตัลท์แล้ว เขาเหล่านั้นจะมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์และความรวดเร็วในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
1.  หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์  
Digital Library of King Mongkut's University of Technology Thonburi  (2545)  และทิศนา แขมมณี (2551) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตามหลักการของกลุ่มเกสตัลท์ไว้ดังนี้
1.1  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวของมนุษย์
1.2 บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
1.3  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
1.3.1 การรับรู้ (Perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด  สมองหรือจิตจะใช้ประสบการณ์เดิมตีความหมายของสิ่งเร้าและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองออกไปตามที่สมองและจิตตีความหมาย
1.3.1.1 กฎการจัดระเบียบการรับรู้ (Perception) เป็นการแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วน คือ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้น กลุ่มทฤษฎีเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยการแบ่ง เป็นกฎ 7 ข้อ  ดังนี้
1)      กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz) ประสบการณ์เดิมมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ของบุคคลต่อสิ่งเร้าเดียวกันอาจแตกต่างกันได้ เพราะการใช้ประสบการณ์เดิมมารับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อยต่างกัน
2)  กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) สิ่งเร้าใดที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน
3)  กฎแห่งความใกล้เคียง/ใกล้ชิด (Law  of Proximity) สิ่งเร้าที่มีความใกล้เคียงกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน และถ้าทุกสิ่งทุกอย่างเท่ากัน  สิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกันจะถูกรับรู้ด้วยกัน
4)   กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure) แม้สิ่งเร้าที่บุคคลรับรู้จะยังไม่สมบูรณ์ แต่บุคคลสามารถรับรู้ในลักษณะสมบูรณ์ได้ ถ้าบุคคลมีประสบการณ์เดิมในสิ่งเร้านั้น
5)  กฎแห่งความต่อเนื่อง สิ่งเร้าที่มีความต่อเนื่องกัน หรือมีทิศทางไปในแนวเดียวกัน บุคคลมักรับรู้เป็นพวกเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกัน หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน
6)  บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้สิ่งเร้าในภาพรวมแล้วจะมีความคงที่ในการรับรู้สิ่งนั้นในลักษณะเป็นภาพรวมดังกล่าว ถึงแม้ว่าสิ่งเร้านั้นจะได้เปลี่ยนแปรไปเมื่อรับรู้ในแง่มุมอื่น เช่น เมื่อเห็นปากขวดกลมเรามักจะเห็นว่ามันกลมเสมอ ถึงแม้ว่าในการมองบางมุม ภาพที่เห็นจะเป็นรูปวงรีก็ตาม
7)  การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือน ไปจากความเป็นจริงได้ เนื่องมาจากลักษณะของการจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการลวงตา เช่น เส้นตรงในภาพ ก. ดูสั้นกว่าเส้นตรงในภาพ ข. ทั้ง ๆ ที่ยาวเท่ากัน
เส้น ก.   
เส้น ข.                                    
1.3.2  การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที อันเนื่องจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวม และการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้น ในการศึกษาการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นของโคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยได้ทำการทดลองขังลิงชิมแพนซีที่ชื่อ สุลต่านไว้ในกรงพร้อมท่อนไม้ขนาดสั้นยาวต่าง ๆ กัน นอกกรงได้แขวนกล้วยไว้หนึ่งหวีซึ่งไกลเกินกว่าที่ลิงจะเอื้อมหยิบได้  ซึ่งลิงได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้กินกล้วย เช่น เอื้อมมือหยิบ ส่งเสียงร้อง เขย่ากรง ปีนป่าย จนกระทั่งการหยิบไม้มาเล่น ในที่สุดลิงก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้  สรุปได้ว่า ลิงมีการเรียนรู้แบบหยั่งเห็น เป็นการค้นพบหรือเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที เนื่องมาจากผลการพิจารณาปัญหาโดยส่วนรวมและการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญาของบุคคลนั้นในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เผชิญ ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็คือประสบการณ์ หากมีประสบการณ์สะสมไว้มาก การเรียนรู้แบบหยั่งเห็นก็จะเกิดขั้นได้มากเช่นกัน 
ดังนั้นสรุปได้ว่าการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาพรวมก่อนส่วนปลีกย่อยจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดีกว่า ตามกฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย และการเรียนรู้แบบหยั่งรู้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประสบการณ์ใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น ตามกฎแห่งความคล้ายคลึง และหากให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้เรียนรับรู้เป็นสิ่งเดียวกันตามกฎของความต่อเนื่อง หากมีการสั่งสมประสบการณ์ เกี่ยวกับสิ่งใดมาก ๆ ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นมากเช่นกัน  จากแนว ความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  กล่าวได้ว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย ดังนั้นหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ควรเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยการเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้                        
เอกสารอ้างอิง

ทิศนา  แขมมณี.   (2551).   ศาสตร์การสอน.  กรุงเทพฯ :  สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.